หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๑

ครบรอบ ๓ ปีการจากไปของคนเล็กๆ ที่สร้างงาน "ใหญ่ " ให้กับแผ่นดิน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จึงชวน อาจารย์ทศพร กสิกรรม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเคยผ่านชีวิตการทำงานในบริษัทเมืองโบราณช่วงระยะเวลาหนึ่ง มาจับเข่า ช่างปรีชา วิบูลย์สิน อดีตนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ ผู้เริ่มต้นชีวิตการงานที่เมืองโบราณ และได้เรียนรู้วิธีการทำงาน ความคิด ความฝัน ของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ถ่ายทอดออกเป็นผลงานศิลปะหลากชิ้น ทั้งในเมืองโบราณ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา พร้อมด้วย คุณวาสนา รุ่งแสงทอง (ลาโทรัส) เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายหลายรูปแบบ ยี่ห้อ NaRaYa ที่ส่งจำหน่ายในต่างประเทศกว่า ๔๐ สาขาทั่วโลก ผู้ซึ่งประกาศอยู่เสมอว่า “ เธอมีวันนี้ได้ เพราะเมืองโบราณ ” เธอได้รับสิ่งใดจากองค์กรนี้ และอิทธิพลความคิด วิถีชีวิต ของคนที่ชื่อ เล็ก วิริยะพันธุ์ ให้อะไรกับเธอ เชิญมาร่วมสนทนาและรับฟังได้

โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๒

วันที่ ๑๗ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงคุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้ฝากไว้ซึ่งงานสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมอย่างสำคัญแก่สยามประเทศยุคปัจจุบัน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ถือเป็นโอกาสจัดงานทางวิชาการเพื่อสืบต่อเจตนารมณ์ของท่านผู้จากไปที่ต้องการเผยแพร่ความรู้สู่สาธาณชนให้แพร่หลายโดยเฉพาะแก่เยาวชนเป็นประจำทุกปี ปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ เริ่มจัดงานวันเล็ก-ประไพรำลึกครั้งที่ ๑ เพื่อสานต่อแนวคิด เล็ก วิริยะพันธุ์ กับการศึกษาท้องถิ่น โดย อบรมเยาวชนและเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับเรื่องความรู้ท้องถิ่น ณ เมืองโบราณ สมุทรปราการ

โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘
เมืองโบราณ จากเมืองจำลองมาเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งระดับโลก

วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน เป็นวันที่คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ผู้สร้างเมืองโบราณและจัดตั้งมูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์ จากไป ทางมูลนิธิฯ ถือว่าเป็นวันสำคัญ ที่ ทุก ๆ ปี จะต้องจัดกิจกรรมทางปัญญาขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกและสนองเจตนารมณ์อันยิ่งใหญ่ของคุณเล็ก เพราะคุณเล็กเมื่อมีอายุใกล้จะ ๖๐ ปีนั้น ได้ยุติกิจกรรมทางธุรกิจที่แสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุอย่างสิ้นเชิง โดยโอนความรับผิดชอบใด ๆ ในงานทางธุรกิจให้แก่คุณประไพ -- ผู้ภรรยาและครอบครัวดำเนินต่อไป หันมาสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปวัฒนธรรมและจิตวิญญาณแทน สิ่งที่ท่านทิ้งไว้ให้แก่แผ่นดินและโลก ก็คือ เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณที่สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรมที่พัทยา ควบคู่กันกับการก่อสร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งสามอย่างนี้

โดย ศรีศักร วัลลิโถดม
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๔

จากวิกฤตการเมืองและสังคมที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวและสิ้นหวังในเรื่องศีลธรรมและจริยธรรมของสังคมไทยอย่างชัดเจน ไม่เพียงแสดงออกในด้านการเมืองแต่ยังขยายครอบงำไปทั่วทุกบริบทของสังคม คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตที่เคยเป็นบรรทัดฐานถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง วัฒนธรรมการฉ้อราษฎร์ เล่นพรรคเล่นพวก กลายเป็นเรื่องปรกติที่แทรกเข้าไปในทุกส่วนของสังคม จนนำมาซึ่งความขัดแย้งทางอุดมการณ์ และท้ายที่สุดก็ใช้การรัฐประหารมาคลี่คลายความแตกแยกในสังคม

โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ถอดเทป พลิกฟื้นคุณธรรมแห่งแผ่นดิน
โดยอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
ถอดเทปเสวนา คุณธรรมในวรรณกรรมไทย
โดยอาจารย์เสาวณิต วิงวอน อาจารย์วรรณา นาวิกมูล และอาจารย์สุกัญญา สุจฉายา
ถอดเทปเสวนา แม้ศาสตร์ศิลป์ ก็ไม่สิ้นคุณธรรม
โดยศักดิ์สิริ มีสมสืบ ,อาจารย์ประสาท ทองอร่าม, นิวัติ กองเพียร และ ศรัณย์ ทองปาน
น้ำ ! เทวะหรือซาตาน (น้ำคืออะไร ใครรู้บ้าง?)
โดยอาจารย์ยงยุทธ จรรยารักษ์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๕

ปีนี้ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จัดให้มีทั้ง การสนทนา เพื่อรำลึกถึงความคิดและการทำงานของคุณเล็กและคุณประไพ ผู้สร้างเมืองโบราณ ควบคู่ไปกับ การทัศนศึกษาจร ในพื้นที่ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงท้องถิ่นต่าง ๆ ในเมืองไทย ซึ่งคุณเล็กและคุณประไพได้เคยเดินทางหรือศึกษาทำความเข้าใจจนนำมาเป็นแนวคิดในการก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองโบราณ โดยเฉพาะตลาดน้ำที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิวัฒนธรรมของแม่น้ำลำคลองในที่ราบลุ่มภาคกลาง

โดย ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
" วิถีแม่น้ำลำคลองบนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ "งานวันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๕
โดยปิยชาติ สึงตี
เรื่องของ “ น้ำ ” เรียบเรียงจาก ป่าไม้ ไร่นา ปลาทู : สายน้ำไม่อาจตัดขาดและ คนแม่กลอง
โดยสุรจิต ชิรเวทย์
ทัศนศึกษาจร ครั้งที่ 1
โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ทัศนศึกษาจร ครั้งที่ 2
โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑
ความเป็นมาของชื่อ “ ประเทศสยาม ” กับ “ ประเทศไทย ”

“ SYAMA ” ตรงกับอักขรวิธีไทย “ ศยามะ ” แปลว่า “ ดำ ” “ สีคล้ำ ” “ สีน้ำเงินแก่ ” “ สีน้ำตาลแก่ ” “ สีเขียวแก่ ” ฯลฯ บางคนที่กล่าวถึงนี้จึงสันนิษฐานว่า คำว่า “ สยาม ” มิได้มีมูลศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ครั้นแล้วก็สันนิษฐานว่าคำว่า “ สยาม ” แผลงมาจากคำจีน “ เซี่ยมล้อ ” อันเป็นภาษาของจีนแต้จิ๋วตามที่ผู้สันนิษฐานสันทัดในการได้ยินคนจีนส่วนมากที่อยู่ในสยาม โดยมิได้คำนึงว่าจีนแต้จิ๋วเป็นจีนเพียงในจังหวัดหนึ่งแห่งมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน อันที่จริงจีนส่วนมากหลายร้อยล้านคนในประเทศจีนนั้นพูดภาษาจีนกลาง หรือใกล้เคียงกับจีนกลาง เรียกชื่อประเทศสยามมาตั้งแต่โบราณกาลว่า “ เซียนโล๋ ” มิใช่ “ เซี่ยมล้อ 

 

โดย เรียบเรียงจากเค้าความบางตอนในต้นฉบับของหนังสือ Ma Vie Mouvementee ปรีดี พนมยงค์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๗

สังคมไทยถูกทำให้เชื่อโดยไม่ตั้งข้อสังเกตว่า “คนไทยนั้นต้องมีความเป็นคนไทยเหมือนกัน” อันหมายถึง มีเชื้อชาติไทยเป็นหลัก นับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้แนวคิดในเรื่อง สังคมพหุลักษณ์ ดูจะไกลตัวและไม่เคยถูกนำมาพูดเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมไทยนัก แต่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้และความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดในสังคมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งในทางการเมืองจนนำมาสู่การทำลายสังคมของตนเองอย่างรุนแรงอันมีผลมาจากความต่างทางความคิดซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย นำมาสู่คำถามที่ว่า ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดพื้นฐานทางการเมืองและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และกลุ่มทางสังคมต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรเป็นจุดร่วมของความเป็นสังคมพหุลักษณ์และการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมพหุลักษณ์ สมาชิกของสังคมควรเรียนรู้ผู้อื่นและตนเองอย่างไร เพื่อจะไม่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งไปมากกว่านี้

โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๘ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๘

งานวันเล็ก-ประไพ รำลึก ของทุกปีที่ผ่านมา นำเสนอแนวคิดของผู้ก่อตั้งเมืองโบราณ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ในการศึกษาเพื่อจะทำความเข้าใจความหลากหลายชาติพันธุ์ของผู้คนในสังคมไทยโดยเฉพาะในงานด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้านศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรมที่ผสมผสานหล่อเลี้ยงความเข้าใจในการดำรงอยู่ร่วมกันจนกลายเป็น “คนสยาม” ซึ่งแสดงความหมายถึงผู้คนในดินแดนที่เรียกว่า “สยาม” อันเป็นมาตุภูมิเดียวกัน

 

โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๙ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
เล็ก - ประไพ รำลึก [๙] : ตามไปดูอบรมปฏิบัติการประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อ ‘เด็กรักษ์ถิ่น’

“เด็กน้อยๆคืออนาคตของสังคม คนแก่ๆเดี๋ยวก็ตายแล้ว แต่ก่อนตายขอได้ถ่ายทอดสิ่งดีๆเอาไว้ให้คนรุ่นหลัง” พ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว แห่งบ้านบัว ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร กล่าวกับเด็กๆกว่า ๕๐ คน ซึ่งมาร่วม กิจกรรม ‘ปฏิบัติการประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักถิ่น’ เนื่องในวัน วันเล็ก - ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๔ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ โดยเลื่อนมาจาก วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ปีก่อน เพราะสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่

โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง
 
วันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๕๖
เมื่อไปร่วมกิจกรรม“ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ที่เมืองโบราณ

การเข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ณ ค่ายริมขอบฟ้า เมืองโบราณ สมุทรปราการ ระหว่างวันที่ ๑๐–๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาทำให้กลุ่มเยาวชนผู้สนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดสกลนครได้รับความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มที่ทำงานในท้องถิ่นต่างๆ ได้รับฟังการบรรยายทางวิชาการจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน

โดย อลิสา ทับพิลา
 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.