หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ก่อนจะเป็นเมืองโบราณและมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

สำหรับคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ การสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิตไม่ใช่สิ่งที่สร้างให้เสร็จได้รวดเร็วด้วยทุนทรัพย์อย่างคนที่เป็นมหาเศรษฐีหรืออย่างของทางรัฐบาล ข้าราชการ แต่เป็นการสร้างด้วยกำลังความคิดอ่านทางสติปัญญาเพื่อให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชาติให้รู้จักอดีตของชาติบ้านเมืองว่าเคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขึ้นเพื่อให้คนในยุคปัจจุบัน ได้รับทราบและเรียนรู้  “เมืองโบราณ” ไม่ได้เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นด้วยเวลาอันสั้น การเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองโบราณไม่ใช่การจำลองสร้างโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่หักพังที่ตายไปแล้ว [Dead Monuments] มาตั้งแสดง แต่เป็นการสร้างบรรดาสถานที่ทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นให้เต็มรูปอย่างมีชีวิต และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบททางภูมิวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เป็นบ้านเป็นเมืองอย่างในอดีต  เพื่อให้คนในปัจจุบันได้เห็นอย่างครั้งยังไม่ถูกทำลาย

คู่มือกิจกรรมค่ายเยาวชน “ชวนเด็กแกลงตามรอยพระเจ้าตากฯ ที่กรุงธนบุรี” กิจกรรมเนื่องในงานวันเล็ก-ประไพ รำลึก ปีที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๐

เส้นทางเดินทัพสู่ตะวันออกและการกลับคืนเพื่อกู้บ้านเมือง : พระยาตากหรือพระยาวชิรปราการตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกจากพระนครศรีอยุธยาในระหว่างสงครามครั้งสุดท้ายที่กำลังแตกเพื่อไปทางด่านเมืองนครนายกและเลียบชายดงศรีมหาโพธิ์เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงแล้วมุ่งสู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในช่วงก่อนพระนครสูญเสียต่อทัพพม่าราว ๓ เดือน กระทำเพื่อสะสมผู้คนและจัดทัพเตรียมเสบียงเพื่อย้อนกลับไปกู้บ้านเมืองอีกครั้ง

นิวกรุงเทพฯ นิวรัตนโกสินทร์ : การพัฒนาบ้านเมืองที่ไม่เห็นมนุษย์

ที่ผ่านมาการพัฒนาในสังคมไทยนั้นเป็นการพัฒนาจากข้างบนที่การตัดสินใจมจากคนข้างบนและคนข้างล่างโดยไม่เห็น "คนใน" ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ตรงข้างกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" นั่นคือ การเข้าไม่ถึงคนและไม่เข้าใจคนในพื้นที่ซึ่งจะได้รับการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง  การพัฒนาแบบจากบนลงล่างที่ผ่านมาร่วมกึ่งศตวรรษแลไม่เห็นหัวคนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น "การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม" อย่างที่เรียกกัน หากเป็น "การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง" มากกว่า  และทุกครั้งที่ผ่านมาทุกหนแห่งในประเทศ คือ การสร้างนิเวศทางเศรษฐกิจและการเมืองทับลงไปยังนิเวศทางสังคมวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ของท้องถิ่นตลอดเวลา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงล่มสลายของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในสังคมเกษตรกรรมและความเป็นมนุษย์ของคนในท้องถิ่นที่อยู่กันมาเป็นครอบครัว เครือญาติ และชุมชนทั้งในระดับบ้านและเมือง...

การสำรวจเส้นทางเดินทัพและรวบรวมไพร่พลเพื่อกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากพระนครศรีอยุธยาจนถึงเมืองตราด

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาตากหรือพระยาวชิรปราการ ตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าออกจากพระนครศรีอยุธยาในระหว่างสงครามครั้ง สุดท้ายที่กำลังแตกสลายลงไปเพื่อไปทางด่านเมืองนครนายกและเลียบชายดงศรีมหา โพธิเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง แล้วมุ่งสู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในช่วงก่อนพระนครสูญเสียต่อทัพพม่าราว ๓ เดือน และเป็นการกระทำเพื่อสะสมผู้คนและจัดทัพเตรียมเสบียงเพื่อย้อนกลับไปกู้บ้านเมืองอีกครั้ง

"เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ" และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ที่ไม่มีชีวิต(๔)

ปัญหาพื้นฐานทางความคิดเรื่อง “ความดั้งเดิม ความแท้จริง” [Authenticity] ในการอนุรักษ์เมืองเก่าของประเทศไทยทำให้เกิด ความขัดแย้งในการอนุรักษ์และศึกษาเรื่องเมืองประวัติศาสตร์หรือย่านเก่าต่างๆ คือ ผู้มีหน้าที่อนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์จะเข้าใจว่า ชุมชนเหล่านั้นต้องสืบสายเลือด สืบตระกูลมาจากคนในยุคสร้างบ้าน แปงเมืองและยังต้องทำงานช่างหัตถกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับชุมชนในตำแหน่งที่ระบุไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์

โดย วลัยลักษณ์ ทรงสิริ
"เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ" และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ที่ไม่มีชีวิต(๓)

ปัญหาพื้นฐานทางความคิดเรื่อง "ความดั้งเดิม ความแท้จริง" [Authenticity] ในการอนุรักษ์เมืองเก่าของประเทศไทยทำให้เกิดความขัดแย้งในการอนุรักษ์และศึกษาเรื่องเมืองประวัติศาสตร์หรือย่านเก่าต่างๆ คือ ผู้มีหน้าอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์จะเข้าใจว่าชุมชนเหล่านั้นต้องสืบสายเลือด สืบตระกูลมาจากคนในยุคสร้างบ้านแปงเมืองและยังทำงานช่างหัตถกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับชุมชนในตำแหน่งที่ระบุไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์

โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
"เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ" และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ (๒)

ในขณะที่ชาวบ้านที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปนั้นทราบและรับรู้ว่า ชุมชนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา [Living Community] มีผู้ย้ายเข้าและย้ายออกไปโดยเหตุต่างๆ กลุ่มคนดั้งเดิมเป็นใคร และกลุ่มคนที่ย้ายเข้ามาใหม่คือใคร โดยยอมรับผู้มาใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจากการช่วยเหลือและทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน แต่ก็ยังเป็นชุมชนอยู่ทำให้เกิดปัญหาเมื่อต้องพิจารณาว่าชุมชนใดควรถูกไล่รื้อหรือชุมชนใดควรได้รับการสงวนไว้ และมีสิทธิโดยชอบธรรมในที่อยู่อาศัยนั้น และการประเมินคุณค่าของชุมชนต่างๆ โดยไม่ศึกษาค้นคว้าข้อมูลโดยรอบด้าน ทำให้เห็นคุณค่าของชุมชนในตรอกซอกซอยต่างๆ น้อยลง เมื่อไม่เข้าใจจึงให้สนใจแต่เฉพาะสิ่งที่เห็นประจักษ์คือโบราณสถานหรือโบราณวัตถุและสิ่งที่จับต้องได้ตามองเห็นเท่านั้น

โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
กิจกรรม พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖-๑ (ภาคทฤษฎี) เรียนรู้ “จีนสยามและความหลากหลายทางชาติพันธุ์และความเชื่อย่านสำเพ็ง” กิจกรรมช่วงที่ ๑: การบรรยายความรู้ภาคทฤษฎี
โดย จิราพร แซ่เตียว
กิจกรรม พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖-๒ (พระนครชวนชม) เรียนรู้ “จีนสยามและความหลากหลายทางชาติพันธุ์และความเชื่อย่านสำเพ็ง” กิจกรรมช่วงที่สอง: พระนครชวนชม
โดย จิราพร แซ่เตียว
วัดกับชุมชน บทสำรวจท้องถิ่นเมืองแกลง จังหวัดระยอง

สมัยก่อนที่พระสำคัญกับชุมชนเพราะพระทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน เจ้าอาวาสเป็นหัวใจหลัก แล้วพระรองๆ ลงมาจะมีความรู้แตกต่างกัน และความรู้ของพระก็เป็นความรู้ที่ได้มาจากที่เดิม คือความรู้จากชุมชน อย่างฉันรุ่นปู่เป็นแพทย์ประจำตำบลเพราะคนโบราณมีการสืบทอดความรู้ตามสายตระกูล

 

นครปฐมเมืองท่าแห่งสหพันธรัฐทวารวดี
โดย พนมกร นวเสลา
บันทึกจากท้องถิ่น ชาวประมงปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
โดย จิราพร แซ่เตียว
เทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกง ปากคลองแกลง จังหวัดระยอง
โดย จิราพร แซ่เตียว
ศาลเจ้ายายหอมเลี้ยงเป็ดกับตำนานพื้นบ้านที่สร้างโบราณสถาน จังหวัดนครปฐม
โดย พชรพงษ์ พุฒซ้อน
รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๒๑ "จากเมืองแกลงสู่กรุงธนบุรี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง" (ตอนที่ ๑)
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๒๑ "จากเมืองแกลงสู่กรุงธนบุรี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง" (ตอนที่ ๒)
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
รายการ “อดีตในอนาคต” ตอนที่ ๒๐ “เล็ก-วิริยะพันธุ์”
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๑๖ ภูสามเส้า
โดย พนมกร นวเสลา
presentation โครงการศึกษาเมืองระยองในเส้นทางกู้ชาติขอ­ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
โครงการศึกษาเมืองระยองในเส้นทางกู้ชาติขอ­ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดบ้านค่าย
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
บันทึกความคิด "เล็ก วิริยะพันธุ์" วีดิทัศน์เนื่องในวันเล็ก-ประไพ รำลึก
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
รายการต้นฉบับ ตอน อ.ศรีศักร วัลลิโภดม
โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
โรงเลื่อย ของป่า ภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เมืองแกลง

วิถีชีวิตของคนในพื้นที่เมืองแกลงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อเสร็จฤดูทำนาจะรวมกลุ่มพากันเทียมเกวียนเข้าป่าไปหาของป่านำออกมาขาย โดยเดินตามเส้นทางเกวียนลัดเลาะขึ้นไปทางทิศเหนือหรือเดินตามลำน้ำสายเล็กๆ เข้าไปยังป่าเบญจพรรณ ถึงเวลากลางคืนจะหยุดตามจุดที่เป็นชุมนุม...

"สามย่านรามา" โรงหนังในย่านตลาดของคนเมืองแกลง
โดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
น้ำ-ข้าว-วิถีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านทะเลน้อย เมืองแกลง
โดย กิตติคุณ โพธิ์ศรี และพชรพงษ์ พุฒซ้อน
จีนสยาม ณ สามย่าน เมืองแกลง จังหวัดระยอง
โดย จิราพร แซ่เตียว
บันทึกจากท้องถิ่น : สร้างเด็กรักถิ่นกับอยู่เมืองแกลงวิทยา
โดย สุดารา สุจฉายา
 
"จากเมืองแกลงสู่กรุงธนบุรี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง" กิจกรรมเนื่องในวันเล็ก-ประไพ รำลึก ปีที่ ๑๖ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑
คู่มือกิจกรรมค่ายเยาวชน “ชวนเด็กแกลงตามรอยพระเจ้าตากฯ ที่กรุงธนบุรี” กิจกรรมเนื่องในงานวันเล็ก-ประไพ รำลึก ปีที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๐
เปิดประเด็น : เล็ก วิริยะพันธุ์ กับการขุดค้นทางปัญญา
เมืองโบราณ จากเมืองจำลองมาเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งระดับโลก
อ่านทั้งหมด
 
 
 
 
 
 
 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.